อาการเหนื่อยง่าย คืออาการที่ร่างกายมีพลังงานน้อยกว่าปกติ ส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย โดยสาเหตุมาจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ปัญหาทางสุขภาพจิต การรับประทานยาบางชนิด หรืออาจจะเกิดจากภาวการณ์เจ็บป่วย ซึ่งอาการเหนื่อยเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ซึ่งอาการเหนื่อยง่ายนี้เป็นอาการที่สำคัญที่มนุษย์อย่างเราไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด เพราะฉะนั้นในบทความนี้จะมาเจาะลึกกันว่าอาการเหนื่อยง่ายมีลักษณะอย่างไร รวมไปถึงขั้นตอนการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงโรคนี้ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนนั่นเอง

อาการเหนื่อยง่าย อาการร้ายที่ไม่ควรมองข้าม  

อาการเหนื่อยง่าย หมายถึง เมื่อเราออกกำลังแล้วเกิดการเหนื่อยหอบ ทั้ง ๆ ที่เพื่อนหรือคนในรุ่นเดียวกันยังสามารถทำต่อไปได้อย่างสบาย ๆ ยกตัวอย่างเช่น การทำงานบ้าน การออกแรงยกของ หรือแม้แต่การเดินทั่ว ๆ ไป ดังนั้นจะพูดให้เข้าใจก็คือ กิจกรรมใดที่บุคคลทั่วไปสามารถทำได้สบาย แต่ตัวเรากลับเหนื่อยหอบอย่างผิดปกตินั่นเอง

สาเหตุของอาการเหนื่อยง่าย

สาเหตุของอาการเหนื่อยง่าย เกิดได้จากหลาย ๆ องค์ประกอบด้วยกันซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

  • เบาหวาน ผู้ป่วยโรคดังกล่าวจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า พ่วงด้วยอาการกระหายน้ำ ปวดปัสสาวะบ่อย และที่สำคัญผู้ป่วย

โรคเบาหวานมักจะชอบรับประทานอาหารที่มีรสหวาน เพราะฉะนั้นหากสงสัยว่าตนอาจเป็นโรคเบาหวาน ก็ควรเขารับการตรวจเพื่อป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง

  • ภาวะตั้งครรภ์ อาการเหนื่อยง่ายเป็นอาการที่เกิดขึ้นในช่วงแรกเริ่มตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

ขึ้นมามากนั่นเอง

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ พบมากในชายวัยกลางคนที่ค่อนข้างมีน้ำหนักมาก สาเหตุเกิดจากช่องคอที่แคบกว่าปกติในเวลา

นอนหลับ ส่งผลให้หายใจลำบากภาวะนี้จะส่งผลให้ร่างกายขาดออกซิเจนในเลือดลดลง ส่งผลให้ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวมีอาการอ่อนล้าได้นั่นเอง

  • ภาวะขาดไทรอยด์ อาการอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย เป็นอาการทั่วไปของผู้ป่วยภาวะขาดไทรอยด์จะแสดงอาการออกมา

อย่างช้า ๆ เสริมด้วยภาวะซึมเศร้า รู้สึกเจ็บปวดกล้ามเนื้อเป็นอาการควบคู่กันไป

  • โรคลมหลับ หรือภาวะง่วงเกิน คือภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยหลับแบบกะทันหันมีอาการง่วงนอนมากเกิดขึ้นหลายครั้งในแต่ละวัน

อาจหลับไปทั้ง ๆ ที่ทำกิจกรรมอยู่ซึ่งโรคนี้มักพบได้ในช่วงอายุ 10-25 ปีนั่นเอง

  • โรคสมองและประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อ หลอดเลือดเลี้ยงสมองตีบ โรคกล้ามเนื้อฝ่อ โดยสาเหตุที่เกิดจากสมองนั้นสามารถตรวจ

ได้เพียงแค่ตรวจร่างกายเท่านั้น ก็สามารถทราบได้ทันทีว่าผู้ป่วยเป็นโรคทาสมองหรือไม่ แต่จะเป็นชนิดใดนั้น จะต้องมีการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง และแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง

พฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย

  • การนอนดึกหรือการนอนไม่เพียงพอนั้นส่งผลให้ร่างกายเกิดความเหนื่อยล้า อ่อนล้า รู้สึกเหนื่อยง่าย การเข้านอนให้ตรง

เวลา และการพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงต่อวันนั้น จะช่วยให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเกิดความจำเป็น จำพวก กาแฟ ชา น้ำอัดลม อาจเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้นอนไม่หลับ หรือ

หลับไม่สนิทในเวลากลางคืน ควรจำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในระหว่างวัน งดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมนี้ในเวลาตอนเย็น

  • การรับประทานยา การรับประทานยาบางประเภทที่มีฤทธิ์ตำให้ง่วงนอน หรือมีฤทธิ์กดประสาททำให้ผู้กินไม่มีสติ เกิด

อาการเหนื่อยล้า เช่นยาแก้แพ้ ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน และยาระงับอาการปวดเป็นต้น

  • การรักษาโรค โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งต้องทำการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา อาจส่งผลข้างเคียงให้ผู้ป่วย

รู้สึกอ่อนเพลียและเหนื่อยล้า

  • การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ จำพวกของทอด ของหวาน ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย นอกจากจะไม่มีคุณค่า

ทางโภชนาการแล้ว ยังประกอบด้วยไขมันและน้ำตาลสูง การรับประทานสิ่งที่มีประโยชน์อย่างเช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ นอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดอาการเหนื่อยง่ายได้อีกด้วย

จะสังเกตได้ว่า อาการเหนื่อยง่าย เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งไม่สามารถสรุปได้ว่าผู้ที่มีภาวะดังกล่าวมาจากสาเหตุอะไร เพราะฉะนั้นหากพบว่าตนเองมีอาการตามที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นนั้น ก็ควรเข้ารับการตรวจกับแพทย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ เพื่อหาสาเหตุของอาการได้อย่างตรงจุด หากพบโรคร้ายที่ตามจากอาการก็จะสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงทีก่อนที่จะสายเกินไป

ขอบคุณข้อมูลจาก rattinanhospital.com

By beauty